รายชื่อคณะที่เรียนออกแบบและศิลปะ

รายชื่อคณะที่เรียนออกแบบและศิลปะ

  • รายชื่อคณะทั้งภาคไทยและอินเตอร์
  • สรุปคะแนนและการยื่นพอร์ต
  • คำแนะนำสำหรับการเลือกคณะ

รายชื่อคณะที่เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและศิลปะ (ข้อมูลปีการศึกษา 2561)

เกือบทุกคณะจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง น้อง ๆ จะต้องเข้าไปดูระเบียบการของแต่ละคณะซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกปี อย่าใช้ข้อมูลจากเว็บอื่นที่ไม่ใช่ของทางมหาวิทยาลัย และพยายามติดตามข่าวสารจากเพจหรือเว็บไซต์ของคณะเป็นประจำ


รายชื่อคณะที่เรียนออกแบบและศิลปะ-จุฬา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะศิลปกรรมศาสตร์
ภาควิชานฤมิตศิลป์ เว็บไซต์

  1. สาขาเรขศิลป์ (Graphic)
  2. สาขาหัตถศิลป์ (Ceramic)
  3. สาขามัณฑนศิลป์ (Fashion)
  4. สาขานิทรรศการศิลป์ (Exhibition)

คณะศิลปกรรมศาสตร์
ภาควิชาทัศนศิลป์ เว็บไซต์

  1. สาขาจิตรกรรม (Painting)
  2. สาขาประติมากรรม (Sculpture)
  3. สาขาภาพพิมพ์ (Printmaking)
  4. สาขาสื่อผสมหรือสื่อใหม่ (New Media)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เว็บไซต์

  1. ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เว็บไซต์
  2. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
  3. ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง
  4. ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  5. ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  6. ภาควิชาเคหการ
  7. International Program in Design and Architecture (INDA) เว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ค
  8. Communication Design (CommDe) เว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ค

มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะมัณฑนศิลป์

  1. ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
  2. ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
  3. ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
  4. ภาควิชาออกแบบประยุกศิลป์
  5. ภาควิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา
  6. ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
  7. ภาควิชาออกแบบแฟชั่นดีไซน์

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

  1. ภาควิชาจิตรกรรม
  2. ภาควิชาประติมากรรม
  3. ภาควิชาศิลปะไทย
  4. ภาควิชาสื่อผสม

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

  1. สาขาการออกแบบการสื่อสาร
  2. สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์
  3. สาขาการออกแบบแฟชั่น
  4. สาขาศิลปะเครื่องประดับ

ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

  1. สาขาศิลปะจินตทัศน์
  2. สาขาเซรามิก

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: ด้านการออกแบบ

  1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก
  2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  3. สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  4. สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
  5. สาขาวิชาการถ่ายภาพ
  6. สาขาวิชานิเทศศิลป์
  7. สาขาวิชาภาพยนต์และดิจิทัลมีเดีย
  8. สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ
  9. สาขาวิชาประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคม
  10. สาขาวิชาภาพพิมพ์และอิลัสเตรชั่น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบหลักสูตรนานาชาติ

  1. สถาปัตยกรรม
  2. สถาปัตยกรรมภายใน
  3. การออกแบบอุตสาหกรรม
  4. ออกแบบนิเทศศิลป์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชามีเดียอาตส์


มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คณะศิลปกรรมศาสตร์

  1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
  3. สาขาวิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น
  4. สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ (MUIC)

หลักสูตรนานาชาติ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์


รายชื่อคณะที่เรียนออกแบบและศิลปะ-ปฏิทินการยื่นพอร์ตคณะกราฟิก

TCAS 2562
ช่วงเวลาการสอบคณะที่เรียนด้านกราฟิก

* ปฏิทินการสอบจะเริ่มตั้งแต่เดือน ธ.ค.

น้อง ๆ ควรไปติดตามเพจภาควิชาหรือคณะที่จะสอบ เพราะแต่ละคณะมีช่วงเวลาสมัครและการยื่นพอร์ทแตกต่างกัน (คลิกที่ชื่อคณะเพื่อไปที่เพจของคณะนั้นๆ)


เรขศิลป์ ศิลปกรรม จุฬาฯ

  • ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
  • เกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป
  • ไฟล์ DVD ผลงาน 15 - 20 ผลงาน ต้องมีงานที่วาดด้วยมือไม่น้อยกว่า 3 ผลงาน
  • มีสอบข้อเขียน

ออกแบบสื่อสารมศว

  • ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
  • เกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป
  • แฟ้มสะสมผลงานขนาด A4 ผลงาน 10 ชิ้น

นิเทศศิลป์ลาดกระบัง

  • ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
  • เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไป
  • แฟ้มสะสมผลงานขนาด A4 ผลงานศิลปะ 10 ชิ้น ผลงานออกแบบ 15 ชิ้น ผลงานจริง 1 ชิ้น
  • มีสอบข้อเขียน

นิเทศศิลป์ ศิลปากร

  • ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
  • แฟ้มสะสมผลงานขนาด A4 วาดเส้นผลงานจริง 5 หัวข้อ งานออกแบบ ขนาด a4 1 ชิ้น เขียนอธิบาย และส่งแบบร่าง ไม่ต่ำกว่า 3 แบบ

คำแนะนำสำหรับการเลือกคณะ

เรียนอะไร ทำงานอะไร

สิ่งแรกที่น้องต้องทำคือไปศึกษาว่าแต่ละคณะเรียนอะไร พี่ ๆ จบมาทำงานอะไร ใช่งานแบบที่เราอยากทำหรือไม่ ไปดูสถานที่เรียน บรรยากาศการเรียนว่าเราอยากอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นรึเปล่า

ความยากง่ายในการสอบติด

มักจะเป็นไปตามโอกาสที่ดีในการทำงานหรือเงินเดือนตอนเรียนจบ คณะที่เข้าง่ายก็มักจะหางานยากหรือเงินเดือนต่ำกว่า หรือบางคณะเข้ายากเงินเดือนไม่สูงแต่มี connection ที่ดีมากก็ทำให้เรามีโอกาสเติบโตดีกว่า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ที่คณะอะไรแต่เป็นตัวน้อง ๆ เองว่ามีความตั้งใจและอยากจะเก่งมากน้อยแค่ไหน เพราะทุก ๆ คณะและมหาวิทยาลัยก็มีคนเก่งและอ่อนผสมกันไปหมด งานไม่ว่าสาขาอะไรถ้าเราเก่งที่สุดยังไงเราก็ไม่ตกงาน

ช่วงเวลาสอบ

แต่ละคณะจะมีช่วงสอบและยื่นพอร์ตก่อนหลังแตกต่างกัน น้อง ๆ ต้องวางแผนให้รอบคอบ สำหรับคนที่เลือกคณะที่สอบทีหลังก็ควรไปทดลองสอบหรือยื่นพอร์ตคณะที่สอบก่อนเพื่อทำความคุ้นเคยกับห้องสอบและเป็นการซ้อมไปในตัว

น้อง ๆ ทุกคนก็อยากจะสอบติดให้เร็วที่สุด เพราะเพื่อน ๆ บางคนสอบติดตั้งแต่ปลายปี แต่บางคนต้องรอถึงเดือนมีนาคมหรือช้ากว่านั้นกว่าจะได้สอบ ทำให้ในปัจจุบันคนที่เลือกสอบรอบหลังมีน้อยลง โอกาสสอบติดของคนที่ตั้งใจเอารอบหลังก็จะมีมากขึ้น

ค่าใช้จ่ายในการเรียน

ทั้งค่าเทอม ค่าเดินทาง ค่าอยู่อาศัย ค่าอุปกรณ์การเรียนของแต่ละคณะ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป เครื่องปริ้นสำหรับคนเรียนกราฟิก ค่าตัดชุด จ้างนางแบบ ถ่ายรูป สำหรับคนเรียนแฟชั่น การเลือกเรียนคณะที่ไกลบ้านหรือค่าเทอมแพงมากอาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีสำหรับเราก็ได้