รายชื่อคณะที่เรียนออกแบบและศิลปะ
- รายชื่อคณะทั้งภาคไทยและอินเตอร์
- สรุปคะแนนและการยื่นพอร์ต
- คำแนะนำสำหรับการเลือกคณะ
รายชื่อคณะที่เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและศิลปะ (ข้อมูลปีการศึกษา 2561)
เกือบทุกคณะจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง น้อง ๆ จะต้องเข้าไปดูระเบียบการของแต่ละคณะซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกปี อย่าใช้ข้อมูลจากเว็บอื่นที่ไม่ใช่ของทางมหาวิทยาลัย และพยายามติดตามข่าวสารจากเพจหรือเว็บไซต์ของคณะเป็นประจำ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะศิลปกรรมศาสตร์
ภาควิชานฤมิตศิลป์ เว็บไซต์
- สาขาเรขศิลป์ (Graphic)
- สาขาหัตถศิลป์ (Ceramic)
- สาขามัณฑนศิลป์ (Fashion)
- สาขานิทรรศการศิลป์ (Exhibition)
คณะศิลปกรรมศาสตร์
ภาควิชาทัศนศิลป์ เว็บไซต์
- สาขาจิตรกรรม (Painting)
- สาขาประติมากรรม (Sculpture)
- สาขาภาพพิมพ์ (Printmaking)
- สาขาสื่อผสมหรือสื่อใหม่ (New Media)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เว็บไซต์
- ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เว็บไซต์
- ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
- ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง
- ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม
- ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน
- ภาควิชาเคหการ
- International Program in Design and Architecture (INDA) เว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ค
- Communication Design (CommDe) เว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ค
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะมัณฑนศิลป์
- ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
- ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
- ภาควิชาออกแบบประยุกศิลป์
- ภาควิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา
- ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
- ภาควิชาออกแบบแฟชั่นดีไซน์
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
- ภาควิชาจิตรกรรม
- ภาควิชาประติมากรรม
- ภาควิชาศิลปะไทย
- ภาควิชาสื่อผสม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภาควิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
- สาขาการออกแบบการสื่อสาร
- สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์
- สาขาการออกแบบแฟชั่น
- สาขาศิลปะเครื่องประดับ
ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
- สาขาศิลปะจินตทัศน์
- สาขาเซรามิก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: ด้านการออกแบบ
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
- สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
- สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาการถ่ายภาพ
- สาขาวิชานิเทศศิลป์
- สาขาวิชาภาพยนต์และดิจิทัลมีเดีย
- สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ
- สาขาวิชาประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคม
- สาขาวิชาภาพพิมพ์และอิลัสเตรชั่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบหลักสูตรนานาชาติ
- สถาปัตยกรรม
- สถาปัตยกรรมภายใน
- การออกแบบอุตสาหกรรม
- ออกแบบนิเทศศิลป์
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชามีเดียอาตส์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะศิลปกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
- สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
- สาขาวิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น
- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ (MUIC)
หลักสูตรนานาชาติ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์
TCAS 2562
ช่วงเวลาการสอบคณะที่เรียนด้านกราฟิก
* ปฏิทินการสอบจะเริ่มตั้งแต่เดือน ธ.ค.
น้อง ๆ ควรไปติดตามเพจภาควิชาหรือคณะที่จะสอบ เพราะแต่ละคณะมีช่วงเวลาสมัครและการยื่นพอร์ทแตกต่างกัน (คลิกที่ชื่อคณะเพื่อไปที่เพจของคณะนั้นๆ)
เรขศิลป์ ศิลปกรรม จุฬาฯ
- ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
- เกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป
- ไฟล์ DVD ผลงาน 15 - 20 ผลงาน ต้องมีงานที่วาดด้วยมือไม่น้อยกว่า 3 ผลงาน
- มีสอบข้อเขียน
ออกแบบสื่อสารมศว
- ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
- เกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป
- แฟ้มสะสมผลงานขนาด A4 ผลงาน 10 ชิ้น
นิเทศศิลป์ลาดกระบัง
- ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
- เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไป
- แฟ้มสะสมผลงานขนาด A4 ผลงานศิลปะ 10 ชิ้น ผลงานออกแบบ 15 ชิ้น ผลงานจริง 1 ชิ้น
- มีสอบข้อเขียน
นิเทศศิลป์ ศิลปากร
- ยื่นพอร์ตเดือน ธ.ค.
- แฟ้มสะสมผลงานขนาด A4 วาดเส้นผลงานจริง 5 หัวข้อ งานออกแบบ ขนาด a4 1 ชิ้น เขียนอธิบาย และส่งแบบร่าง ไม่ต่ำกว่า 3 แบบ
คำแนะนำสำหรับการเลือกคณะ
เรียนอะไร ทำงานอะไร
สิ่งแรกที่น้องต้องทำคือไปศึกษาว่าแต่ละคณะเรียนอะไร พี่ ๆ จบมาทำงานอะไร ใช่งานแบบที่เราอยากทำหรือไม่ ไปดูสถานที่เรียน บรรยากาศการเรียนว่าเราอยากอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นรึเปล่า
ความยากง่ายในการสอบติด
มักจะเป็นไปตามโอกาสที่ดีในการทำงานหรือเงินเดือนตอนเรียนจบ คณะที่เข้าง่ายก็มักจะหางานยากหรือเงินเดือนต่ำกว่า หรือบางคณะเข้ายากเงินเดือนไม่สูงแต่มี connection ที่ดีมากก็ทำให้เรามีโอกาสเติบโตดีกว่า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ที่คณะอะไรแต่เป็นตัวน้อง ๆ เองว่ามีความตั้งใจและอยากจะเก่งมากน้อยแค่ไหน เพราะทุก ๆ คณะและมหาวิทยาลัยก็มีคนเก่งและอ่อนผสมกันไปหมด งานไม่ว่าสาขาอะไรถ้าเราเก่งที่สุดยังไงเราก็ไม่ตกงาน
ช่วงเวลาสอบ
แต่ละคณะจะมีช่วงสอบและยื่นพอร์ตก่อนหลังแตกต่างกัน น้อง ๆ ต้องวางแผนให้รอบคอบ สำหรับคนที่เลือกคณะที่สอบทีหลังก็ควรไปทดลองสอบหรือยื่นพอร์ตคณะที่สอบก่อนเพื่อทำความคุ้นเคยกับห้องสอบและเป็นการซ้อมไปในตัว
น้อง ๆ ทุกคนก็อยากจะสอบติดให้เร็วที่สุด เพราะเพื่อน ๆ บางคนสอบติดตั้งแต่ปลายปี แต่บางคนต้องรอถึงเดือนมีนาคมหรือช้ากว่านั้นกว่าจะได้สอบ ทำให้ในปัจจุบันคนที่เลือกสอบรอบหลังมีน้อยลง โอกาสสอบติดของคนที่ตั้งใจเอารอบหลังก็จะมีมากขึ้น
ค่าใช้จ่ายในการเรียน
ทั้งค่าเทอม ค่าเดินทาง ค่าอยู่อาศัย ค่าอุปกรณ์การเรียนของแต่ละคณะ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป เครื่องปริ้นสำหรับคนเรียนกราฟิก ค่าตัดชุด จ้างนางแบบ ถ่ายรูป สำหรับคนเรียนแฟชั่น การเลือกเรียนคณะที่ไกลบ้านหรือค่าเทอมแพงมากอาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีสำหรับเราก็ได้